คลังเก็บหมวดหมู่: สุขภาพเกี่ยวกับหู

โรคหินปูนในหูชั้นในหลุด

โรคหินปูนในหูชั้นในหลุดเป็นโรคที่พบได้บ่อยในผู้ใหญ่ที่อายุประมาณ 30-50 ปี แต่ส่วนคนอายุน้อย หรือวัยรุ่นก็สามารถพบได้เช่นกัน โดยเพศหญิงมักจะพบมากกว่าเพศชาย โรคนี้ไม่ได้เป็นโรคที่อันตรายถึงชีวิตแต่ถ้าเกิดขึ้นในขณะขับรถหรือเดินในที่สูงอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้

สาเหตุของการเกิดโรคอันดับแรกมาทำความรู้จักกับหูของเราก่อน โดยหูของเราจะแบ่งออกเป็น 3 ชั้น คือ มีหูชั้นนอก หูชั้นกลาง และหูชั้นใน โดยหูชั้นในจะมีอวัยวะในการควบคุมการทรงตัว และในนั้นจะมีหินปูนเกาะอยู่ โดยหินปูนนั้นจะเกาะอยู่เฉยๆ

และถ้าหินปูนหลุดออกมาก็จะทำให้หน้าที่ในการควบคุมการทรงตัวของเราเสียไป ทำให้เกิดการเวียนศีรษะ บ้านหมุนขึ้นมาได้ สาเหตุที่ทำให้หินปูนในหูชั้นในหลุดนั้นก็มีสาเหตุต่าง ๆ มากมาย เช่น

1.เสื่อมตามวัยเมื่ออายุมากขึ้น หินปูนที่อยู่ในหูชั้นในก็จะเสื่อมตามไปด้วย ทำให้มันหลุดออกทำให้ผู้สูงอายุเกิดอาการเวียนศีรษะได้เยอะกว่าคนที่อายุน้อย

2.เกิดอุบัติเหตุทางศีรษะ เมื่อถูกกระทบกระเทือนเข้าไปก็ทำให้หินปูนที่เกาะอยู่หลุดออกมา ซึ่งคนที่เคยมีอุบัติเหตุทางศีรษะก็มีความเสี่ยงที่จะทำให้เวียนศีรษะจากโรคนี้ได้มากกว่าผู้ที่ไม่เคยมีอุบัติเหตุทางศีรษะมาก่อน

3.ผู้ที่เคยติดเชื้อในหู เวลาเกิดการอักเสบในหู การติดเชื้อก็อาจจะลามไปถึงหินปูนในส่วนนี้ ทำให้หินปูนหลุดออกมาก็ทำให้เกิดการเวียนศีรษะได้

4.คนที่เคลื่อนไหวศีรษะเร็วๆ ทำซ้ำ ๆเป็นกิจวัตร เช่น การก้มๆเงยๆ เคลื่อนไหวศีรษะซ้ำ ๆทุกวัน ๆ โอกาสที่จะทำให้หินปูนชั้นในหลุดมีได้สูงเช่นกัน คนที่เป็นโรคนี้ก็จะมีอาการเวียนศีรษะ บ้านหมุน มีความรู้สึกเหมือนว่าอยู่ในเรือมีอาการโคลงเคลง ทรงตัวลำบาก เดินไม่ตรง และอาจมีอาการอย่างอื่นร่วมด้วย เช่น คลื่นไส้ อาเจียน อาการอาจจะเป็นๆหายๆ อาจเป็นวัน เป็นสัปดาห์ หรือเป็นเดือนก็ได้  

การรักษาโรคในหินปูนชั้นในหลุด ก็จะเริ่มต้นด้วยการทานยาก่อน แต่ถ้ารับประทานยาแล้วอาการไม่ดีขึ้น ก็จะเริ่มรักษาด้วยการกายภาพ ซึ่งอาจจะต้องปรึกษาหมอหู คอ จมูก ร่วมด้วยว่าซึ่งจะมีวิธีการกายภาพทำให้หินปูนที่กลิ้งๆอยู่ หรือที่หลุดออกมานั้นกลับเข้าที่เดิมอาการก็จะหาย และถ้ารักษาด้วยการทานยาหรือกายภาพไม่ดีขึ้นก็อาจจะต้องผ่าตัดเพื่อลดอาการเวียนศีรษะจากหินปูนที่หลุดออกมา โรคหินปูนชั้นในหลุดนั้นเมื่อหายแล้วก็สามารถกลับมาเป็นซ้ำได้อีก 

การป้องกันไม่ให้หินปูดในหูชั้นในหลุด 

1.เวลานอนให้นอนหมอนสูง 

2.พยายามเปลี่ยนท่าช้า ๆ ไม่ว่าจะก้มหรือจะเงย อย่าเปลี่ยนท่าเร็วหรือเคลื่อนที่ศีรษะเร็ว 

3.งดออกกำลังกายที่มีการเคลื่อนศีรษะเร็ว ๆ เช่น การว่ายน้ำ 

4.ป้องกันอุบัติเหตุที่จะเกิดการแทกศีรษะ เช่น เวลาขับขี่รถมอเตอร์ไซต์ก็ควรสวมหมวกนิรภัยไว้ด้วย 

5.เมื่อมีอาการติดเชื้อในหูควรรีบพบแพทย์ เพื่อที่จะได้ยาฆ่าเชื้อเพื่อป้องกันการติดเชื้อลุกลามจนทำให้เกิดการเวียนศีรษะ 

 

ได้รับการสนับสนุนโดย  เครื่องช่วยฟัง

รู้หรือไม่เครื่องช่วยฟังทำงานอย่างไร

อย่างที่ทราบกันดีว่าเครื่องช่วยฟังนั้น เป็นอุปกรณ์ที่จะสามารถช่วยให้คนที่มีปัญหาด้านการได้ยิน

ให้กลับมาได้ยินเสียงได้อีกครั้ง สามารถใช้ชีวิตในสังคมได้เป็นปกติทุกอย่าง ไม่รู้สึกถึงความแตกต่างจากคนอื่น โดยอุปกรณ์นี้สามารถใช้ได้ทั้งเด็ก ผู้ใหญ่และคนชรา  สำหรับการทำงานของเครื่องช่วยฟังนั้น มี 2 แบบคือ

–      แบบอนาล็อก เป็นการแปลงสัญญาณคลื่นความถี่ของเสียงให้เป็นอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งสามารถตั้งโปรแกรมตามความต้องการของผู้ที่ใช้งานได้ ที่สำคัญราคาไม่แพง โดยการใช้เครื่องช่วยฟังแบบอนาล็อกนั้นจะต้องให้นักโสตสัมผัสวิทยา เป็นผู้วิเคราะห์อาการของผู้ป่วยก่อนหลังจากนั้น จึงสั่งให้บริษัทที่ผลิตติดตั้งโปรแกรมให้ตรงกับการใช้งานของคนป่วยแต่ละราย

–      แบบดิจิทัล เป็นการแปลงคลื่นความถี่ของเสียงให้เป็นรหัสตัวเลข  ซึ่งเครื่องช่วยฟังแบบดิจิทัลนี้จะสามารถควบคุมความดังหรือปรับระดับความดังให้เข้ากับสถานการณ์ที่ผู้ป่วยกำลังต้องการใช้งานได้

          ลักษณะการทำงานของเครื่องช่วยฟังคือ

จะเป็นการนำเสียงข้างนอกหูกลับเข้าไปด้านในหู แล้วทำการขยายเสียงให้ดังขึ้น สำหรับปัจจุบันการใช้เครื่องช่วยฟังจะเน้นใช้แบบดิจิทัล โดยจะมีไมโครโฟนแบบเล็กจิ๋วทำหน้าที่เก็บเสียงและสภาพแวดล้อม และจะมีอุปกรณ์ขนาดเล็กในการช่วยในการแปลงเสียงให้เป็นรหัสและทำการขยายเสียงให้ดังขึ้น

ซึ่งสามารถปรับระดับความดังของเสียงได้ด้วย ทั้งนี้ในอุปกรณ์เครื่องช่วยฟังจะทำงานภายใต้การใช้งานแบตเตอรี่  และสำหรับการปรับระดับความดังของเสียงนั้น แต่ละคนจะถูกปรับไม่เท่ากันเพราะจะขึ้นอยู่กับสภาพปัญหาของการได้ยินด้วยว่ามากน้อยแค่ไหน 

          การทำงานของเครื่องช่วยฟังนั้น หากมองภายนอกเราจะเห็นแค่อุปกรณ์ที่เอาไปเกี่ยวกับใบหู หรือสอดเข้าไปในรูหู ซึ่งจริงๆแล้วเครื่องช่วยฟังมีหลายชนิดให้เลือกใช้งานเพราะผู้ป่วยแต่ละคนจะเหมาะกับการใช้งานเครื่องช่วยฟังที่แตกต่างกันเช่น

–       สำหรับผู้ป่วยทั่วไปที่อาจยังได้ยินอยู่แต่ได้ยินเสียงเบามาก เช่น คนแก่ที่หูตึง เครื่องอันนี้จะใส่ไว้ที่หูแล้วให้เสียงแทรกผ่านเข้าไปในรูหู เรียกเครื่องช่วยชนิดนี้ว่า เครื่องฟังเสียงจากทางอากาศ

–       สำหรับคนที่มีปัญหามีน้ำหนองไหลออกมาจากหูตลอดเวลา ต้องใช้เครื่องช่วยฟังชนิดฟังผ่านหลังใบหู

–       สำหรับเครื่องช่วยฟังอันนี้จะเหมาะสำหรับคนที่หูหนวกและตาบอดด้วยเพราะจะช่วยแปลงค่าความสั่นสะเทือนให้ด้วย แต่การใช้เครื่องช่วยฟังชนิดนี้จะต้องได้รับการฝึกฝนการใช้ก่อน

–       เครื่องช่วยฟังที่จะต้องผ่าตัดแล้วฝังอุปกรณ์ไว้ที่อวัยวะภายในหู เพื่อให้สารารถได้ยินเสียงได้  เครื่องช่วยฟังอันนี้จะเหมาะกับคนที่พิการหูหนวก ที่ไม่สามารถใช้เครื่องช่วยฟังแบบธรรมดาได้        

–       อีกประเภทคือเครื่องช่วยกลบเสียงที่ดังรบกวน สำหรับผู้ป่วยที่จะได้ยินเสียงเหมือนแมลงบินในหูตลอดเวลา