โดยทั่วไปแล้วต่อมทอนซิลอักเสบสามารถรักษาให้หายได้ และเมื่อหายแล้วควรดูแลรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง หลีกเลี่ยงสิ่งที่จะทำให้กลับมาป่วยเป็นทอนซิลอักเสบอีก เพราะหากมีอาการอักเสบมากเกินไป อาจจะต้องเข้ารับการผ่าตัดทอนซิลเลยทีเดียว
ผ่าตัดทอนซิล ทางออกของผู้ป่วยทอนซิลอักเสบ
ผู้ป่วยที่ต้องเข้ารับการผ่าตัด คือ ผู้ป่วยที่มีอาการบ่อยดังนี้
– มีการอักเสบของต่อมทอนซิลบ่อยมากกว่า 7 ครั้ง ต่อ 1 ปี
– หรือมีอาการอักเสบเกิน 5 ครั้งต่อปี เป็นเวลาถึง 2 ปีติดต่อกัน
– มีอาการอักเสบ 3 ครั้งต่อปี 3 ปีติดต่อกัน
– คนไข้ที่ใช้ยาปฏิชีวนะหลายชนิดไม่ดีขึ้น
– ต่อมทอนซิลอักเสบก้อนโตอุดตันทางเดินหายใจ หรือมีก้อนโตข้างใดข้างหนึ่งผิดปกติ และสงสัยว่าอาจจะเป็นมะเร็งในต่อมทอนซิลหรือมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
อย่างไรก็ตามการผ่าตัดควรได้รับคำยืนยันจากแพทย์ว่ามีอาการตามข้อบ่งชี้ ดังกล่าวหรือไม่
ข้อดีของการผ่าตัดต่อมทอนซิล
– กำจัดการติดเชื้อ
– ทำให้ไม่ติดเชื้อบ่อยๆ
– ช่วยให้ผู้ป่วยที่เป็นเด็กสามารถหายใจโล่งขึ้น
นอกจากนี้การตัดทอนซิลทิ้งมักจะไม่มีข้อเสีย เพราะแพทย์ได้ระบุหรือบ่งชี้แล้วว่าสมควรตัดทิ้ง อีกทั้งต่อมทอนซิลที่ตัดทิ้งนั้นมักไม่ทำงานแล้ว ต่อมทอนซิลที่ไม่ทำงานจะไม่ฆ่าเชื้อโรคกลับกันจะเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค นอกจากนี้ ยังมีต่อมน้ำเหลืองในช่องคอที่ดักจับเชื้อโรคแทนอยู่จำนวนมาก ไม่ทำให้ผู้ป่วยเสียภูมิต้านทาน
ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรม ศีรษะ ลำคอ หลอดลม และกล่องเสียง ศูนย์หู คอ จมูก กล่าวถึงการผ่าตัดทอนซิลว่า “การผ่าตัดต่อมทอนซิลแบบดั้งเดิม (Traditional Tonsillectomy) คือ การใช้ไฟฟ้าจี้เพื่อเอาทอนซิลออกมา เป็นการรักษาที่ทำมาตั้งแต่แรกเริ่ม ใช้เวลานานหรือไม่ขึ้นอยู่กับแพทย์ว่ามีความเชี่ยวชาญขนาด การผ่าตัดใช้เวลาผ่าตัดมาก ตั้งแต่ 30 นาที – 2 ชั่วโมง (ขึ้นอยู่กับขนาดก้อนทอนซิล) หากก้อนทอนซิลขนาดใหญ่อาจจะต้องมีการเย็บด้วยไหมเย็บซึ่งจะทำให้ระคายคอและใช้เวลาพักฟื้นนาน